×
หน้าหลัก > ความรู้เรื่องกระเบื้อง > ตรวจงานปูพื้นกระเบื้องอย่างไร ไม่ให้เสียใจภายหลัง
ตรวจงานปูพื้นกระเบื้องอย่างไร ไม่ให้เสียใจภายหลัง
ตรวจงานปูพื้นกระเบื้องอย่างไร ไม่ให้เสียใจภายหลัง
27 Jan, 2020 / By Rpcshop
Images/Blog/zbp1exSW-Slide2.JPG

แน่นอนว่ากับการปูกระเบื้องห้องใหม่ทั้งที เราทุกคนก็อยากจะไม่ให้มีปัญหา หนทางที่ดีที่สุดจึงเป็นการให้ผู้เชี่ยวชาญมาดูแลเรื่องการปูพื้นกระเบื้องให้ แต่อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งเราก็พบว่า แม้จะเป็นผู้เชี่ยวชาญมาทำงานให้เรา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะได้งานที่ดีที่น่าพอใจเสมอไป ดังนั้น เพื่อไม่ให้ต้องมารู้สึกเสียดาย เสียใจ และเสียเวลาเสียเงินเพิ่มภายหลัง วันนี้เรามีคำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับ “การตรวจงานปูพื้นกระเบื้อง” มาฝากกันครับ เพื่อให้สุดท้ายแล้วเพื่อนๆ ได้ห้องใหม่ กระเบื้องใหม่ ที่สวยงามอย่างที่ใจต้องการ

 

1. ต้องแน่ใจว่าช่างใช้กระเบื้องปูพื้น

ข้อนี้ถือเป็นด่านแรกสุดของการตรวจงานปูพื้นกระเบื้องเลยก็ว่าได้ เพราะสำหรับการปูพื้น เราจำเป็นจะต้องใช้กระเบื้องปูพื้นเท่านั้น ถ้าเกิดว่านำกระเบื้องปูผนังมาปูล่ะก็ ถือว่างานเข้าอย่างแรง เพราะความสำคัญของกระเบื้องปูพื้นอยู่ที่ค่าการดูดซึมน้ำที่จะต้องต่ำ เพื่อให้เดินแล้วไม่ลื่น แต่กระเบื้องปูผนังนั้น ค่าการดูดซึมน้ำจะสูง แถมยังแข็งแรงทนทานน้อยกว่าอีกต่างหาก นั่นจึงเป็นสิ่งที่เราต้องตรวจเช็คตั้งแต่เริ่มกับผู้รับเหมาเลยว่าใช้กระเบื้องปูพื้นจริงๆ ไม่ใช่เอากระเบื้องปูผนังมาปู

 

2. กระเบื้องที่ใช้ควรให้อยู่ในรอบซื้อเดียวกัน

ปริมาณของกระเบื้องที่ใช้จำเป็นจะต้องคำนวณออกมาให้ดีครับ เพื่อให้ไม่มีการซื้อทีหลัง รอบหลัง เพราะการซื้อกระเบื้องคนละรอบกัน ต่อให้รุ่นเดียวกัน แต่คนละล็อต คนละร้าน ก็มีความเป็นไปได้สูงมากที่สีของกระเบื้องจะเพี้ยนต่างกัน ซึ่งแน่นอนว่า แม้จะคุมให้ซื้อกระเบื้องล็อตเดียวกันได้แล้ว ตอนที่ช่างปูเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องตรวจดูที่พื้นกระเบื้องด้วยว่า มีสีที่เพียนไปหรือเปล่า เพื่อให้พื้นห้องของเราไม่ด่าง ไม่แปลกตาไป เพราะสีหรือลายของกระเบื้องที่ไม่เหมือนกัน

 

3. ปูเรียบร้อยดีแค่ไหน

มองด้วยตาเปล่าอย่างเดียวคงไม่ได้ครับสำหรับงานปูพื้นกระเบื้อง เพราะบ่อยครั้งที่เราเห็นเรียบๆ ดูไม่น่ามีปัญหาอะไรนั้น จริงๆ แล้วอาจมีปัญหาซ่อนอยู่ก็ได้ ดังนั้น ในการตรวจรับงานปูพื้นกระเบื้องนอกจากดูด้วยสายตาเปล่าแล้วว่าเบี้ยวหรือไม่ เสมอกันหรือเปล่า เราก็ควรต้องลองเดินเหยียบดู ลองใช้นิ้วกด เคาะดูด้วยว่า มีตรงไหนกระดก กระเดิด ไม่สนิทหรือเปล่าด้วย หรือถ้าพบว่าเคาะไปแล้วเสียงไม่เท่ากัน ดูกลวงๆ ตรงนี้ก็แสดงว่าปูปูนไม่เต็ม ก็ต้องบอกให้ช่างรู้ เพื่อให้แก้ไขได้ทันทีก่อนส่งมอบงาน ไม่ใช่ว่าส่งมอบไปแล้ว อยู่ๆ ไปมาเจอทีหลังก็จะต้องมาเสียเวล ปวดหัวกับการแก้ไขอีกเป็นครั้งที่สอง

 

4. ห้องน้ำ-ระเบียง ต้องตรวจความลาดเอียงด้วย

การปูพื้นกระเบื้องในบางจุดอย่างห้องน้ำ หรือระเบียงภายนอกบ้านที่ต้องมีส่วนซักล้างนั้น จำเป็นจะต้องมีเรื่องของความลาดเอียงเข้ามาประกอบด้วย เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการตรวจก็ง่ายมากครับ คือให้ลองเทน้ำดูเลยว่าน้ำไหลไปทางไหน มีน้ำขังหรือเปล่า ถ้าเกิดหลังปูกระเบื้องเสร็จแล้วพบว่า เทน้ำแล้วไม่ค่อยลง มีน้ำขัง คือความลาดเอียงไม่ได้ล่ะก็ ต้องแก้สถานเดียวครับ ไม่งั้นแย่แน่ๆ เพราะถ้าห้องน้ำมีน้ำขังทุกวันล่ะก็ ทุกคนในบ้านก็อยู่อย่างมีความสุขไม่ได้แน่นอน

แม้เราจะรู้สึกว่าเราไม่ได้มีความเชี่ยวชาญในการปูกระเบื้อง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่า เราต้องใส่ใจและถือเป็นความรับผิดชอบของตัวเองด้วย ที่จะต้องตรวจงาน และตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ ของการปูกระเบื้อง เพราะห้องนั้นคือห้องของเรา บ้านนั้นคือบ้านของเรา แม้ผู้รับเหมาจะพยายามทำดีแค่ไหน บางทีเขาก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจเท่ากับที่เราใส่ใจก็ได้ ดังนั้น อย่าละเลยที่จะตรวจรับงานปูพื้นกระเบื้องเป็นอันขาด เพราะถ้าเราพลาด ก็มีแต่เราเท่านั้นแหละครับที่ต้องเสีย ไม่ว่าจะทั้งเสียรู้ เสียใจ เสียเวลา เสียดาย และเสียเงินเพิ่มโดยที่จริงๆ แล้ว เราสามารถป้องกันให้มันไม่เกิดขึ้นได้แท้ๆ

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.