×
หน้าหลัก > ความรู้เรื่องกระเบื้อง > เพิ่มความแปลกใหม่ให้กับบ้าน ด้วยการปูกระเบื้องสี่เหลี่ยม
เพิ่มความแปลกใหม่ให้กับบ้าน ด้วยการปูกระเบื้องสี่เหลี่ยม
เพิ่มความแปลกใหม่ให้กับบ้าน ด้วยการปูกระเบื้องสี่เหลี่ยม
24 Oct, 2023 / By Rpcshop
Images/Blog/wjGE5LQm-ไอเดียการปูกระเบื้องสี่เหลี่ยม .jpg

กระเบื้องสี่เหลี่ยม ๆ ไม่ว่าจะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลียมผืนผ้า แม้จะเป็นสิ่งจำเป็นต่อการตกแต่งพื้นผนังห้อง แต่หลาย ๆ คนก็อาจแอบบ่นในใจว่าทำไมถึงได้ซ้ำซากจำเจเสียเหลือเกิน ไม่มีรูปทรงอื่น หรือรูปแบบอื่นที่ทำให้เราหลุดออกจากกรอบการตกแต่งแบบสี่เหลี่ยม ๆ ได้เลยหรือ คำตอบก็คือมี แต่กระเบื้องรูปทรงอื่น ๆ อย่างวงกลม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยมนั้น ก็มีราคาแพงขึ้นและที่สำคัญคือปูยากขึ้น จึงทำให้กระเบื้องสี่เหลี่ยมยังคงกลายเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าอยู่วันยังค่ำ

แต่อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นการปูกระเบื้องกรอบสี่เหลี่ยมแต่เราก็สามารถสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นบรรยากาศที่สวยงามออกนอกกรอบสี่เหลี่ยมได้ โดยไอเดียการปูกระเบื้องให้น่าสนใจแปลกไม่ ไม่ได้เป็นแค่กรอบสี่เหลี่ยม ๆ เดิม ๆ ธรรมดา ๆ นั้น มีดังต่อไปนี้

1.สลับดำขาว สร้างเรื่องราวตาหมากรุก

เทคนิคนี้เรียกได้ว่าง่ายแสนง่าย โดยที่ไม่อยากได้กระเบื้องสี่เหลี่ยมจตุรัสธรรมดา ๆ สีขาวโพลน ๆ สร้างบรรยากาศที่จำเจ ก็แค่เอาคู่สีต่างตรงข้ามอย่างสีดำมาเติมเต็ม ปูสลับขาวดำทำให้กลายเป็นพื้นแบบลายตารางหมากรุก เพียงแค่นี้ก็ก่อให้เกิดบรรยากาศที่หลุดจากความซ้ำซากเดิม ๆ ได้อย่างขาดรอย แถมกลายเป็นเกิดมิติของความสวยงามที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความดึงดูดน่าค้นหาภายในพื้นที่อีกด้วย

ยิ่งถ้าในบ้านมีเด็ก ๆ ด้วยแล้ว การได้เห็นพื้นบ้านของตัวเองกลายเป็นลายตารางหมากรุก ก็คงอดใจไม่ได้ที่จะกระโดดโลดเต้นไปตามช่องตารางราวกับว่าตัวเองเป็นหนึ่งในหมากที่กำลังก้าวเดินอยู่บนกระดาน

2.สลับสีแบบสุ่ม เพิ่มความกระชุ่มกระชวย

ถ้าสีดำกับขาวยังไม่หนำใจ ลายตารางหมากรุกยังไม่ดูแปลกใหม่มากพอ ก็แค่เพิ่มสีเข้าไปอีกแบบไร้ขีดจำกัด ให้กลายเป็นพื้นหรือผนังที่ปูด้วยกระเบื้องหลากสีสันแบบสุ่ม สลับกันไป หรืออาจจะไล่สีเป็นแถว ๆ ไปก็ได้ในโทนเดียวกัน จากเข้มไปอ่อน เพียงเท่านี้บรรยากาศของการตกแต่งก็จะแปลกตาและเปลี่ยนไปแบบที่ไม่ทำให้รู้สึกเบื่อหน่ายได้อีกแล้ว

3.ใช้กระเบื้องที่มีลวดลายเข้าช่วย

หลาย ๆ คนอาจลืมไปเองก็ได้ว่า กระเบื้องสี่เหลี่ยม ๆ นั้นไม่ได้มีแค่เฉพาะสีพื้น ๆ แต่ยังมีที่เป็นแบบกระเบื้องซึ่งมีลวดลายประกอบด้วย ซึ่งมีให้เลือกสารพัดหลากหลายลวดหลายมา เราสามารถเลือกเอาลวดลายต่าง ๆ มาไล่เรียงปูต่อกันให้เกิดเป็นความแปลกใหม่ได้ไม่ยาก หรือจะเลือกใช้เป็นแบบกระเบื้องภาพพิมพ์ ที่มีลวดลายเหมือนภาพโปสเตอร์ อาทิ รูปธรรมชาติ น้ำตก ภูเขา รูปสัตว์ต่าง ๆ หรือรูปเมือง เป็นต้น เพียงเท่านี้ กรอบสี่เหลี่ยมเดิม ๆ ก็จะถูกทำลายลงกลายเป็นภาพสร้างสรรค์ที่สวยงามโดดเด่นไม่น่าเบื่อแล้ว

4.ผสมกระเบื้องที่มีขนาดไม่เหมือนกัน

กรอบทั้งหมดที่กักขังเราไว้กับความจำเจ เป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้นเองล้วน ๆ ไม่เคยมีใครบอกเราเลยว่าต้องใช้กระเบื้องขนาดเดียวกันในการปูพื้นหรือผนัง ไม่เคยมีใครบังคับเลยว่าต้องใช้กระเบื้องสีเดียวกันเท่านั้น ดังนั้นแล้ว ภาพของกระเบื้องสี่เหลี่ยม ๆ ที่เราคุ้นตา จะกลายเป็นแปลกตาทันทีเพียงแค่เราใช้กระเบื้องหลาย ๆ ขนาดผมกัน จตุรัส ผืนผ้า สี่เหลี่ยมเล็กแบบโมเสก และกระเบื้องใหญ่ หลาย ๆ ขนาด รวมถึงถ้าสลับสีได้ด้วย ก็จะยิ่งเพิ่มความแปลกใหม่ให้กับพื้นที่ได้ในชนิดที่ ไม่มีใครเหมือนแน่นอน

5.ปูกระเบื้องแบบวางทแยงมุม

เป็นวิธีการที่ปรับตำแหน่งการปูเพียงแค่เล็กน้อย แต่ได้ผลลัพธ์ที่มหาศาลแปลกตาได้มาก เพราะเมื่อเราเปลี่ยนการวางตำแหน่งเป็นแบบทแยงมุม เส้นขอบกระเบื้องและเส้นยาแนวจะทำให้เกิดมิติภาพลวงตาที่เรามองห็นแตกต่างไปจากการปูกระเบื้องสี่เหลี่ยมตรง ๆ แบบเดิม เกิดเป็นบรรยากาศใหม่ที่ทำลายความน่าเบื่อหน่ายได้ดี ยิ่งถ้าเราเลือกใช้กระเบื้องมากกว่า 1 สีด้วยแล้ว ก็จะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจได้มากขึ้น

ปัจจุบันกระเบื้องไม่ว่าจะเป็นแบบปูพื้นหรือปูผนัง มีสีสันและลวดลายให้เลือกมากมาย เพียงพอที่จะทำให้สร้างความแตกต่างแปลกใหม่ให้กับการตกแต่งได้ไม่ยาก ซึ่งยิ่งหากรวมกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการปูที่เปลี่ยนไปด้วยแล้ว เช่น สลับสี สลับลาย สลับขนาด เปลี่ยนตำแหน่งในการปู ฯลฯ ก็จะยิ่งทำให้เกิดเป็นความสวยงาม ที่โดดเด่น ไม่ซ้ำใครได้ง่าย ๆ เลย

แต่อย่างไรก็ตาม การใช้เทคนิคการปูกระเบื้องดังที่กล่าวมานี้ ก็ต้องแลกมาด้วยการคำนวณความเหมาะสมของพื้นที่มาเป็นอย่างดี รวมถึงต้องมีช่างที่ปูกระเบื้องได้อย่างชำนาญมากพอด้วย จึงจะทำให้ควบคุมงบประมาณในการซื้อกระเบื้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลังจากปูแล้วไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง ให้เราได้ความสวยงามแปลกใหม่ที่ใช้งานได้จริงนั่นเอง

Like
ความคิดเห็น (0)
ก่อนหน้า 1 ถัดไป
ร้านค้าออนไลน์
© 2006-2024
Vevo Systems Co., Ltd.